27 มิถุนายน 2563

สร้างข้อตกลงของนักศึกษา กศน.ตำบลสวนกล้วย 1/2563






การเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดเรียน 1/2563 ( มาตรการ 44 ข้อ)









เพจ กศน.ตำบลสวนกล้วย


  เพจ  กศน.ตำบลสวนกล้วย

https://web.facebook.com/%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2-134617003883499/?ref=bookmarks


นางสาวลำดวน  เปี่ยมพร้อม   ครู กศน.ตำบลสวนกล้วย      089-8054107

QR code กศน.ตำบลสวนกล้วย



เว็ปไซด์ กศน.ตำบลสวนกล้วย

https://suanklauy.blogspot.com

นางสาวลำดวน  เปี่ยมพร้อม
ครู กศน.ตำบลสวนกล้วย
089-805-4107

ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่


https://web.facebook.com/1512499252411798/videos/730939481071075/?vh=e&d=n



การป้องกันไวรัสโคโรน่า 19 ของผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี


4 มิถุนายน 2563

การพบกลุ่มของ กศน.ตำบลสวนกล้วย



พบกลุ่ม ของนักศึกษา กศน.ตำบลสวนกล้วย



เศรษฐกิจพอเพียง

ประวัติ กศน.ตำบลสวนกล้วย

ประวัติความเป็นมาของกศน.ตำบลสวนกล้วย ศาลาอิ่มปรีชาอนุสรณ์ ที่ดินและศาลาแห่งนี้ ได้รับบริจาคจากนายปรีชา –นางบุญอิ่ม บุญจันทร์ สร้างอุทิศให้แก่นายคุ้ยกี่ –นางว้วย ทรัพย์เย็น ค่าที่ดิน ๓๘๐,๕๐๐ บาท ค่าก่อสร้างอาคาร ๑๐๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินที่งสิ้น ๔๘๐,๕๐๐ บาท เพื่อใช้เป็นอาคารอเนกประสงค์ของชุมชน หมู่ที่ ๔ บ้านน้ำเพชร ตำบลสวนกล้วย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เพื่อเป็นอนุสรณ์ ๒๕ ปี แห่งการก่อตั้งหมู่บ้านน้ำเพชร โดยท่านบาทหลวงยอห์น อุลลิอานา เจ้าอาวาสวัดนักบุญยอแซฟบ้านโป่ง เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ และผู้ประสานงานดำเนินงานก่อสร้างโดยผู้ใหญ่สุนันท์ ทรัพย์ไพฑูรย์ และได้มอบให้ทางราชการเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ กศน.ตำบลสวนกล้วย (อาคารอเนกประสงค์ศาลาอิ่มปรีชา) มีอาคารเป็นเอกเทศ ตั้งอยู่ หมู่ ๔ บ้านน้ำเพชร อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มีการเปิดให้บริการประชาชนในชุมชนตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ ชื่อ ศูนย์การเรียนชุมชนเฉลิมพระเกียรติบ้านน้ำเพชร เรื่อยมา ในปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนชื่อ ศูนย์ กศน.ตำบลสวนกล้วย และทำการจัดตั้งกศน.ในปี ๒๕๕๓ ทั่วประเทศ โดยทำพิธีเปิด กศน.ตำบลสวนกล้วย ในวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยได้รับการสนับสนุนด้านสถานที่จากคณะกรรมการหมู่บ้านน้ำเพชร หมู่ที่ ๔ ตำบลสวนกล้วยและเครือข่ายในตำบลสวนกล้วย ด้วยดีเสมอมา ที่ตั้ง กศน.ตำบลสวนกล้วย (อาคารอเนกประสงค์ ศาลาอิ่มปรีชา) หมู่ ๔ บ้านน้ำเพชร ตำบลสวนกล้วย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๙ – ๘๐๕๔๑๐๗ E-Mail : lamdaun_ao@hotmail.com บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล กศน.ตำบล มีภารกิจที่สำคัญ ดังนี้ ๑.๑ การศึกษานอกระบบ ประกอบด้วย ๑.๑.๑ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑.๑.๒ การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ๑.๑.๓ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ๑.๑.๔ การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ๑.๑.๕ กระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๑.๒ การศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน ๓๐๐ คน ๒. สร้างและขยายภาคีเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยในชุมชน ๓. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนของภาคีเครือข่าย ทั้งในแง่ของความเข็มแข็งและความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วมและศักยภาพในการจัด ๔. จัดทำระบบข้อมูล สถิติ และสารสนเทศ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมายและผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาและแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาอัธยาศัย ทั้งในระดับชุมชนหรือระดับจุลภาค ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และภาพรวมระดับประเทศของสำนักงาน กศน. ๕. จัดทำแผนงาน โครงการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำปีงบประมาณ เพื่อจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายและชุมชน และพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน.จังหวัด และ กศน.อำเภอ ที่สังกัดเพื่อการสนับสนุนงบประมาณจาก กศน.อำเภอ ที่สังกัด โดยในกรณีของการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดค่าใช้จ่ายรายหัว ตามที่มติคณะรัฐมนตรีกำหนดคูณด้วย จำนวนนักศึกษา ๔๐ คน/ ภาคเรียน สำหรับกิจกรรมอื่นๆนั้น จัดทำแผนงาน โครงการเพื่อเสนอของบประมาณให้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศน.อำเภอ ๖. ประสานและเชื่อมโยงการดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและภาคีเครือข่ายในตำบล โดยมีการประสานแผนการดำเนินงานภายในตำบลที่รับผิดชอบและ กับ กศน.อำเภอที่สังกัดตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานบนพื้นฐานของความเป็นเอกภาพ ด้านนโยบายและความหลากหลายในการปฏิบัติ ๗. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในความรับผิดชอบตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรับรองการประกันคุณภาพภายนอกของ กศน.อำเภอ ที่สังกัด ๘. รายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต่อ กศน.อำเภอ ที่สังกัด ตามแผนหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้ ๙. ปฏิบัติภารกิจอื่นๆที่ดีรับมอบหมายจาก กศน.อำเภอ สำนักงาน กศน.จังหวัด หรือ สำนักงาน กศน. และตามที่กฎหมายกำหนด กศน.ตำบลสวนกล้วย เป็นหน่วยงานในสังกัด กศน.อำเภอบ้านโป่ง มีฐานะเป็นหน่วยจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชนตำบลสวนกล้วย คณะกรรมการ กศน.ตำบลสวนกล้วย ๑. นายเชี้ยว จิรวัฒนาพันธ์ ประธานกรรมการ ๒. นายสมคิด ติเยาว์ รองประธานกรรมการ ๓. นายประสิทธิ์ เรืองขจร กรรมการ ๔. นางพรรณวิไล หลีละไม กรรมการ ๕. นางสุภาพร เจียมเรือน กรรมการ ๖. นางสาวธันยรัตน์ สวัสดิ์รักษา กรรมการ ๗. นายธนยศ ปานศิลา กรรมการ ๘. นายนิพัฒน์ รัตตนุพงศ์ กรรมการเลขานุการ ๙. นางสาวลำดวน เปี่ยมพร้อม กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ อาสาสมัคร กศน.ตำบลสวนกล้วย ๑.นายสุวิทย์ วัฒนพงษ์ ประธาน ๒.นางสาววรรณวิภา หอมศาสตร์ รองประธาน ๓.นางสาวสุวรรณี บุตรดี เลขานุการ ๔.นายปริญญา ปิยะพิทักษ์วงศ์ กิจกรรมนักศึกษา ๕.นายไกรสร ประเสริฐชัย การเงินและบัญชี ๖.นายไตรภพ ขุนเจริญ ประชาสัมพันธ์ ๗.นางสาวณัฐชญา เมฆนาคา ปฏิคม ๘.นายดรุสรณ์ หนูเผือก กรรมการ ๙.นายโชติมา สสิโรจน์ กรรมการ ๑๐.นางสาววรัญญา สวัสดิ์รักษา กรรมการ ๑๑.นางสาวชนาภา แซ่เฮง กรรมการ บุคลากรใน กศน.ตำบล ๑. นางสาวลำดวน เปี่ยมพร้อม ครูกศน.ตำบลสวนกล้วย

งาน กศน.ตำบลสวนกล้วย

ทิศทางพัฒนา กศน.ตำบลสวนกล้วย ทิศทางการพัฒนา กศน.ตำบลสวนกล้วย วิสัยทัศน์ (Vision) คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพอย่างถั่วถึงและเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ พันธกิจ(Mission) ประเด็นยุทธศาสตร์ (Stratgic Issues) “กศน.ตำบล ศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนในชุมชน” เป้าประสงค์ (Goals) กศน.ตำบล ทุกตำบลต้อง 1. มีการบริหารจัดการ กศน.ตำบล โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย 2. มีการพัฒนาศูนย์การให้บริการทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนใน ชุมชน 3. มีการส่งเสริมและพัฒนาระบบเครือข่ายการเรียนรู้ชุมชน กลยุทธ์ (Stratege) กลยุทธ์ที่ 1 คุณภาพการบริหาร 7 มิติ 1. การพัฒนาอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อม กศน.ตำบล 2. จัดหา สื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ในการดำเนินงานและการเรียนการสอน 3. พัฒนาคุณภาพบุคลากร 4. การบริหารงานอย่างมีส่วนร่วม โดยคณะกรรมการ และภาคีเครือข่าย 5. อาสาสมัคร กศน. 6. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม 7. มีระบบการติดตาม ประเมินผล และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์ที่ 2 4 ศูนย์บริการการเรียนรู้ตลอดชีวิต 1. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information Center) 2. ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center) 3. ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center) 4. ศูนย์ชุมชน (Community Center) กลยุทธ์ที่ 3 เครือข่ายการเรียนรู้ชุมชน 1. เสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ชุมชน 2. ศูนย์ ICT ชุมชน